อาหารสำหรับวันนี้ขอนำเสนอ ปลาทับทิม ผัดขมิ้นขาว โดยขมิ้นขาวเป็นสมุนไพรในครัวเรือน ที่มีประโยชน์ครบถ้วน นำมาทำอาหารให้ความหอมกลิ่นสมุนไพร ส่วนผสมและขั้นตอนการทำปลาทับทิมผัดขมิ้นขาว ง่ายเหมาะสำหรับที่ชอบทานปลาเป็นหลัก มาดูวิธีทำกันว่าจะง่ายสักแค่ไหน

วัตถุดิบ
– เนื้อปลาทับทิม หั่นเป็นลูกเต๋า 1 ตัว
– น้ำมันพืช สำหรับทอดปลา
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ขมิ้นเหลือง บด 2 ช้อนโต้ะ
– กระเทียมบด 1 ช้อนโต้ะ
– แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต้ะ
– ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนโต้ะ
– ซอสน้ำมันหอย 1 ช้อนโต้ะ
– น้ำตาล 1 ช้อนชา หากต้องการหวานใส่เพิ่มได้เช่นกัน
– ขมิ้นขาว ซอยเป็นเส้นไม่ต้องเยอะมากแค่ 5 ช้อนโต๊ะ
– ต้นหอม ซอยหนาๆ 2 ต้นเป็นอย่างน้อยถ้าชอบเยอะใส่เยอะได้เลย
– พริกชี้ฟ้า ซอยเฉียงๆ ใส่ได้ตามใจชอบ
– เห็ดหอม ซอยเป็นเส้น ใส่เท่าไหร่ก็ได้
วิธีทำ ปลาทับทิม ผัดขมิ้นขาว
1.หมักเนื้อปลาทับทิมกับ เกลือ ขมิ้นเหลือง และ กระเทียม จากนั้นนำมาคลุกกับแป้งข้าวโพด สำหรับนำไปทอด
2. ตั้งกระทะน้ำมันให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง นำเนื้อปลาลงทอดให้เหลืองกรอบ จากนั้นนำมาพักให้เนื้อปลาสะเด็ดน้ำมัน
3. ตั้งกระทะน้ำมัน ใส่กระเทียม และ ขมิ้นขาวลงไปผัด ให้มีกลิ่นหอม จากนั้นปรุงรสด้วย ซอสถั่วเหลือง ซอสหอยนางรม และ น้ำตาล หากแห้งไป สามารถเติมน้ำเปล่าได้นิดหน่อย จากนั้นใส่ เห็ดหอม พริกชี้ฟ้า และ ต้นหอมลงไปผัด
4. นำเนื้อปลาทับทิมทอด จัดใส่จาน และ ราดด้วยน้ำซอสที่ผัดไว้แล้ว เท่านี้ก็เสร์็จ เมนูปลาทับทิมผัดขมิ้นขาว
เคล็ดลับการทำปลาทับทิม
-ปลาทับทิม ต้องเลือก ปลาตัวโตๆ ขนาด 500 กรัม เนื้อจะมากหน่อย ได้เนื้อมาก และ ต้องเลือกปลาที่สดใหม่ โดยการสังเกตุปลาทับทิมว่าสดใหม่ ให้ดูที่สีของเหงือก แดงสด เนื้อปลาแน่น ไม่ยุบ ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีกลิ่นเน่า ตาใสไม่ขาวขุ่น
– การล้างปลา เป็นขั้นตอนการเตรียมอาหารที่สำคัญมาก หากขั้นตอนนี้ ล้างปลาไม่สะอาด จะทำให้ปลาคาว กินไม่ได้ ต้องล้างปลาไม่ให้เหลือ เลือด และ เมือก เกาะที่ตัวปลา โดยเทคนิคการล้างปลา ให้ใช้เกลือในการล้างตัวปลา เกลือจะช่วยเกาะจับเมือกปลา ทำให้ล้างปลาได้สะอาด
– การหั่นเนื้อปลา ให้หั่นเป็นท่อนขนาดหนาหน่อย หากหั่นบาง หรือขนาดเล็ก เนื้อปลาจะแตก
– การทอดปลา ให้ใช้น้ำมันร้อน ไฟปานกลาง จะได้เนื้อปลาที่สุกและเหลืองกรอบ
ประวัติที่น่าสนใจของ ปลาทับทิม
ปลาทับทิมไม่ใช่ปลาพื้นถิ่นของไทย ไม่มีต้นกำเนิดที่หาพบในธรรมชาติของบ้านเรา แต่เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ปลา ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแถบแอฟริกาที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้นำทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ลองเลี้ยงปลาพันธุ์ดังกล่าวในบ่อปลาสวนจิตรลดา จนเป็นหนึ่งในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพระราชทานชื่อว่า “ปลานิลจิตรลดา” ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่าปลาที่ทดลองเลี้ยงเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ เป็นอย่างดี
เรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ปลานี้ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย หากแต่ในหลายประเทศ ก็ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เหมาะสม กับการเลี้ยงในประเทศของตนเอง ทั้ง อเมริกา , อิสราเอล มาเลเซีย , อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศที่กล่าวมาเหล่านี้ ล้วนปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลมาเป็นระยะเวลา ยาวนานทั้งสิ้น ส่วนเรื่องสีสันของปลานั้น ก็ได้มาจากลักษณะเด่นของพันธุ์ปลาที่นำมาผสมพันธุ์ตามธรรมชาตินั่นเอง เช่น ปลานิลอินโดนีเซีย มีสีเข้มออกสีน้ำเงิน มีความต้านทานต่อสภาพอุณหภูมิต่ำ ได้อย่างดี ปลามาเลเซียสีชมพูอ่อนๆ เกือบขาว ส่วนปลาทับทิมไทยถูกปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีออกแดงอมชมพู เพื่อให้ดูโดดเด่น เมื่อเทียบกับปลานิลที่มีสีดำ เป็นต้น
นอกจาก ปลาทับทิมจะมีข้อดีด้านคุณค่าทางโภชนาการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ปลาชนิดนี้ยังมีปริมาณเนื้อมาก และมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วในระยะเวลาเพียง 4-5 เดือน ทางกรมประมงจึงส่งเสริม ให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพในแหล่งน้ำ ธรรมชาติที่ใสสะอาด ปราศจากมลภาวะ ไม่มีการใช้ยาและสารเคมีที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตัวปลา และได้วางมาตรฐานการ ปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (Good Aquaculture Practice : GAP) ที่เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ดูการทำเมนูอื่นๆ ได้ที่ เมนูอาหาร : สนับสนุนโดย PG SLOT