ราตาตูย (ratatouille) จับฉ่ายสไตล์ฝรั่งเศษ
สูตรอาหาร

ราตาตูย (ratatouille) จับฉ่ายสไตล์ฝรั่งเศษ

อาหารพื้นเมืองง่ายๆ ที่เรียกว่าเป็นจับฉ่ายสไตล์ฝรั่งเศษ ราตาตูย (ratatouille) เป็นอาหารพื้นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศษ โดยมีลักษณะเป็นสตูผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมืองนิส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ราตาตูยนีซวซ (ratatouille niçoise) เมนูนี้ยังถูกนำไปเป็น ชื่อภาพยนตร์ แอนิเมชันเรื่อง Ratatouille ผลิตโดย พิกซาร์ ที่มีชื่อไทยว่า ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก อีกด้วย ซึ่งก็ทำให้คนทั่วโลก ได้รู้จักกับเมนูพื้นเมืองเมนูนี้มากขึ้น และแน่นอนว่าวันนี้เราก็ได้ นำเอาสูตรการทำเมนูนี้ มาฝากเพื่อนๆกันด้วยค่ะ จะมีขั้นตอนวิธีการทำอย่างไรบ้างไปดูกัน

คำว่าราตาตูย (ratatouille) มาจากคำในภาษาอ็อกซิตันว่า “ราตาตูลยา” (ratatolha) ราตาตูยปัจจุบันพบเห็นได้ในภูมิภาคพรอว็องส์และเมืองนิส มักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน ราตาตูลยาสูตรดั้งเดิมจากเมืองนิสนั้นจะใช้เพียงแค่ซุกกีนี มะเขือเทศ พริกหยวกแดงและเขียว หัวหอม และกระเทียม แต่ราตาตูยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย ปกติราตาตูยจะเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารหลัก หรือบางครั้งก็เสิร์ฟเป็นอาหารหลักบนโต๊ะ

ราตาตูย

และในปี พ.ศ. 2550 ก็ได้มีภาพยนตร์ชื่อเดียวกันนี้ออกมา ทำให้คนทั่วโลกรู้จักกับเมนู ราตาตูย อย่างกว้างขวางมากขึ้น ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Ratatouille ผลิตโดย พิกซาร์ และจัดจำหน่ายโดย วอล์ท ดิสนีย์ แอนิเมชัน กำกับภาพยนตร์โดย แบรด เบิร์ด (Brad Bird) ออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และออกฉายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ถือเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 8 ของพิกซาร์ โดยตั้งชื่อตามอาหารของฝรั่งเศส ราทาทุย (ออกเสียง แรททาทูอี ในภาษาอังกฤษ) ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ, รางวัลบาฟต้า, และรางวัลแกรมมี่

การออกแบบตัวละครของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น ความท้าทายของผู้สร้างภาพยนตร์ ที่จะต้อง สร้างอาหารซึ่งเกิดจากภาพกราฟิกส์ทางคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญคือต้องทำให้อาหารดูน่ารับประทาน พิกซาร์จึงได้เชิญเชฟทั้งของสหรัฐและฝรั่งเศสมาประชุมกัน และทีมแอนิเมชันต้องไปเรียนทำอาหารที่โรงเรียนสอนการประกอบอาหารใน San Francisco-area เพื่อทำความเข้าใจกับงานในครัว

Sets/Layout Dept Manager Michael Warch คอยช่วยเหลือพิกซาร์ด้านการออกแบบอาหาร โธมัส เคลเลอร์ (Thomas Keller) เชฟที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันที่ชำนาญในการทำอาหารฝรั่งเศส อนุญาตให้ผู้อำนวยการสร้างแบรด ลูอิส เข้าไปดูครัวของเขาที่ร้าน French Laundry ได้ เชฟเคลเลอร์ได้ออกแบบอาหาร Ratatouille แบบใหม่ โดยเขาให้ชื่อว่า “confit byaldi” โดย confit byaldi มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1976 แต่เคลเลอร์ได้ออกแบบมันใหม่สำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ Ratatouille แบบที่เรมี่ทำเสิร์ฟให้อีโก้นั่นเอง

การให้แสงผักผลไม้ในเรื่องใช้แบบเดียวกับที่ใช้ในเรื่องรวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก (The Incredibles) และใช้โปรแกรมออกแบบลวดลายและการเคลื่อนไหวของอาหาร ฝ่าย Art Department ได้ถ่ายรูปอาหารที่แตกต่างกัน 15 ชนิด เช่น แอปเปิ้ล, เบอร์รี่, กล้วย, เห็ด, ส้ม, บล็อกโคลี่, และผักกาดหอม เพื่อดูกระบวนการเน่าเปื่อยของอาหาร นอกจากนี้ Ratatouille ปรากฏอยู่บนรายชื่อของนักวิจารณ์หลายคนว่าเป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมแห่งปีพ.ศ. 2550 อีกด้วย

เอาล่ะ เรามาดูวัตถุดิบที่จะต้องใช้ และวิธีทำกันดีกว่าค่ะ ว่าต้องมีอะไรบ้าง

วัตถุดิบ (ปริมาณ 5 เสิร์ฟ)

  • ซุกินี่                         100         กรัม
  • มะเขือม่วง                         100         กรัม
  • มะเขือเทศ               100         กรัม
  • หัวหอม                    80           กรัม
  • พริกเหลือง              60           กรัม
  • เห็ด                          50           กรัม
  • กระเทียมสับ           1-2          เม็ด
  • น้ำมันมะกอก          50           มิลลิลิตร
  • มะเขือเทศเพียวเร่  10           กรัม
  • ใบกระวาน              1-2          ใบ
  • ใบโหระพาสับหยาบๆ            3-4          ใบ

ขั้นตอนการทำ

  1. ตั้งไฟกลาง ใส่น้ำมันเล็กน้อยในกระทะ นำมะเขือม่วงลงผัดให้สุก นิ่ม แล้วนำขึ้นมาพักรอไว้ 
  2. ใส่น้ำมันเพิ่มเล็กน้อย (ไม่จำเป็นต้องล้างกระทะ) ใส่ซุกินี่ลงไปผัดให้สุก นิ่ม แล้วนำขึ้นมาพักไว้เช่นกันค่ะ
  3. ใส่น้ำมันเพิ่มอีกสัก 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วนำหัวหอม พริกหวาน และเห็ดลงไปผัดจนสุกนิ่ม ใส่มะเขือเทศตามลงไปผัด 1-2 นาที ในขั้นตอนนี้เจ้ามะเขือเทศหั่นเต๋าเราก็จะนิ่มมากๆ จนเละ กลายเป็นเนื้อซอสเพียวเร่ให้กับส่วนผสม
  4. คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงเติมซุกินี่และมะเขือยาวที่พักไว้ลงไปผัดคลุกเคล้า เคี่ยวแบบไม่ต้องปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีด้วยไฟอ่อนค่ะ
  5. เมื่อผักทุกชนิดสุกจนนิ่มแล้ว ใส่มะเขือเทศเพียวเร่ลงไป คุลกให้ทั่ว ใส่ใบกระวาน และโรยด้วยไธม์เล็กน้อย เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อน ทิ้งไว้ให้ซอสงวดลงเล็กน้อยค่ะ
  6. ตักเสิร์ฟได้เลย ก็จะเป็นระทะทูอีหน้าตาแบบโฮมเมดบ้านๆ สักหน่อย แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากได้ระทะทูอีแบบเจ้าหนูเรมีแล้วละก็ ให้นำส่วนผสมจากขั้นตอนที่ 5 ไปปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด และใส่มะเขือเทศเพียวเร่เพิ่มอีก 10 กรัมค่ะ
  7. นำซอสที่ได้ เทในถาดอบ ให้เป็นซอสฐานในการวางผัก
  8. นำซุกินี มะเขือเทศ มะเขือม่วง หั่นเป็นแว่นวงกลมบางๆ นำมาวางสลับสีเรียงกันเรื่อยๆ ให้ทั่วถาดอบ บนซอสค่ะ (กดให้ผักจมซอสเล็กน้อย)
  9. ราดน้ำมันมะกอกเล็กน้อยบนผัก โรยด้วยไธม์ แล้วนำเข้าเตาอบประมาณ 30-40 นาที ที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส
  10. เมื่อผักด้านบนสุกนิ่มดีแล้ว ครบระยะเวลา นำออกจากเตาอบ โรยด้วยเกลือ พริกไทย โรยเพิ่มด้วยใบโหระพาก่อนเสิร์ฟ ทานร้อนๆ ค่ะ ตักผักแว่นมาเรียงจานแล้วราดด้วยซอส หอมใบกระวานและสมุนไพรไธม์ ทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือนำไปเป็นผักเคียงจานกับสเต๊กเนื้อเอย อกไก่ต้มเอย เข้ากันสุดๆ
ราตาตูย

หรือถ้าอยากให้หน้าตาเหมือนในภาพยนตร์ แค่หั่นผักทั้งหมดเป็นแว่นๆ จัดเรียงในกระทะเหล็ก หลังจากที่เทซอสผักลงไปก่อน แล้วจากนั้นนำเข้าเตาอบ 45 นาที ก็เป็นอันเสร็จ เสิร์ฟโดยหยอดน้ำมันมะกอก และพาเมซานซีสนิดหน่อยค่ะ

เมนูง่ายๆเรียบๆ แต่ความอร่อยบอกเลยว่าเกินหน้าตามากๆค่ะ มีโอกาสก็ลองไปทำตามกันนะคะ

เชื่อหรือเปล่าว่างานวิจัยและการทดลองเหล่านี้มันอาจเปลี่ยนแปลงโลกไปเลยก็ได้นะ มาดูกันว่า 10 ผลงานวิจัยและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่แปลกที่สุด จะมีเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้คุณต้องประหลาดใจ

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : ทำคั่วกลิ้ง อร่อยแซบ เผ็ดถึงใจ